by Bangkok Art and Culture Centre
Podcast ที่นำเสนอเรื่องราวของการอ่านและศิลปะ ทุกจังหวะของชีวิต
Language
🇹🇭
Publishing Since
12/4/2020
Email Addresses
1 available
Phone Numbers
0 available
February 19, 2025
<p><strong>BACC Library Podcast: Join their journeys</strong></p><p><strong>ตอน The Journey of the Books about Tastes</strong></p><p><strong>ผู้ดำเนินรายการ: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม</strong></p><p><strong>แขกรับเชิญ: อาจารย์ต้น อนุสรณ์ ติปยานนท์</strong></p><p> </p><p>จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีคอนเซ็ปท์อะไรมากนะครับ มันคือหลักการพื้นฐานของรสชาติ 5 รสของคนตะวันตก ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการอาหาร เชฟทั่วไปนะครับ ก็คือ รสเปรี้ยว (sour) รสเค็ม (salty) รสหวาน (sweet) รสขม (bitter) รสอุมามิ (umami) ซึ่งภาษาเราก็แปลว่า รสกลมกล่อม หรือ รสอร่อยก็ได้นะครับ เราก็เลยคิดว่า พัฒนาการและผลกระทบของแต่ละรสต่อคนเนี่ยแตกต่างกัน ผมเชื่อว่า เราทุกคนจะมีรสที่ชอบส่วนตัว อย่างผม ๆ ชอบรสขม เด็ก ๆ อาจจะชอบรสหวาน บางคนชอบเปรี้ยว บางคนชอบเค็ม</p><p>.</p><p>สิ่งที่เรียกว่า ความชอบหรือการเอาตัวเองไปผูกพันกับรสใดรสหนึ่งมันก็คล้ายคลึงกับการเอาตัวเองไปผูกพันกับบางสิ่ง อาจจะเป็น ความรัก อุดมการณ์ศรัทธา ของมนุษย์แต่ละคน สิ่งที่ผูกพันและนำไปสู่การแสวงหามันคือเรื่องเล่าชนิดหนึ่งในชีวิตเรา ฉะนั้นมันคือ นิยาย พอคิดแบบนั้นปุ๊บ ก็เลยเขียนนิยายเกี่ยวกับรสดีกว่า ตอนนี้เหลืออีกสองเล่มจะออกมาคือ รสขม กับรสเปรี้ยว ตอนนี้มีหวาน เค็ม อูมามิ</p><p>.</p><p>คราวนี้ผมก็เลยเกิดความคิดว่า จะเขียนนวนิยายที่จุดเด่นไม่ได้อยู่ที่พล็อต ผมคิดว่า ถ้ามองแบบศิลปะนะครับ ไม่จำเป็นจะต้องทำงานในแบบตัวเอง ใช้สไตล์ของคนอื่นมาทำงานของ Concept ตัวเองซิก็คือเอาเครื่องมือที่คนอื่นเคยทำแล้วเราชอบ หรือเราพบว่ามันมีแรงบันดาลใจหรือมันมีอิทธิพลต่อเรามาใช้.</p><p>(สิ่งที่อาจารย์ต้นอยากฝากถึงคนอ่านคนฟัง) อยากให้อ่านหนังสือผมคิดว่า การอ่านหนังสือมันดี ตรงที่ว่าเราได้อยู่นิ่ง ๆ สักครึ่งชั่วโมง 15 นาที อยากฝากเรื่องอาหาร พยายามอย่าไปกินอะไรทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ เยอะ food waste ไม่ใช่เรื่องดี พยายามกินอะไรให้เคารพ (วัตถุดิบหรืออาหาร) เวลากินอะไรพยายามให้รู้วัตถุดิบจะได้ appreciate</p><p>.</p><p>(ถ้าพูดในฐานะไลฟ์โค้ช) ทุกอย่างในชีวิตคุณที่มันมี effect บางอย่างมันไม่เคยหายไปไหน เพียงแต่ว่ามันจะวนกลับมารูปแบบไหนก็ตาม คุณเคยสนใจเรื่องพวกนี้อาจจะหลายสิบปีลืมไปแล้วเมื่อถึงวันหนึ่งมันจะวนกลับมา เพียงแต่ว่าเราจะตระหนักถึงมันหรือเปล่า</p><p> </p><p>ติดตามรับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ที่</p><p>YouTube: bacc channel</p><p>Spotify: https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV</p><p></p>
January 9, 2025
<p><strong>BACC Library Podcast ชุด Join their journeys</strong></p> <p><strong>ตอน The Journey of the Boy Love Writer</strong></p> <p><strong>ชวนคุยโดย: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม</strong></p> <p><strong>ร่วมพูดคุยกับ: คุณลี้ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท</strong></p> <p><br /></p> <p><br /></p> <p>เรื่องราวในการเขียนหนังสือของลี้ มันใกล้เคียงกับ History ของวรรณกรรมยุคอินเทอร์เน็ต ในช่วงที่ลี้อายุ 12 มันจะเริ่มมีงานที่เป็นนักเขียนไทยอายุน้อย ๆ แล้วเขาเขียนลงอินเทอร์เน็ต แล้วสำนักพิมพ์ก็เอามาตีพิมพ์ ตอนนั้นเขาฮิตโรงเรียนพ่อมดแม่มด จะมีการเขียนแฟนตาซีแบบนั้นออกมา แล้วเราก็เริ่มเขียน มันเป็นงานอดิเรกของเด็กในยุคนั้น ลี้ก็เขียนแฟนตาซีมา จนช่วง ม.ปลาย ไปเจอเว็บบอร์ดของนักเขียน จริง ๆ เป็นเว็บบอร์ดการ์ตูน คนในเว็บนั้นคือเก่งกันเยอะมาก คือ ทุกคนเขียนเก่ง เหมือนเขาก็หล่อหลอมเรา การอยู่ในวงสนทนาที่ทุกคนสนใจในเรื่องเดียวกันและก็เข้มข้นในระดับอายุนั้น มันก็สนุก เราก็เหมือนเขียนมาเรื่อย ๆ </p> <p>.</p> <p>ตอนกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย คือเราชอบประเทศรัสเซีย เราก็เลยไปเรียนภาษารัสเซียที่ธรรมศาสตร์ และก็มีรุ่นพี่จากเว็บนั้นเขาอยู่ธรรมศาสตร์ด้วย เขาเรียกไปชมรมวรรณศิลป์ เราก็จะเจอเด็กนิติ รัฐศาสตร์ เด็กเรียนปรัชญา สังคมมันก็เหมือนต้มเรา ตุ๋นเรา ไม่ใช่แบบหลอกนะคะ ก่อนหน้านี้ ถ้าไม่เขียนเรื่องแฟนตาซี ก็เป็นเรื่องแบบฝรั่ง แต่พอมาอยู่กับรุ่นพี่ เราเขียนเรื่องสัจนิยมในกรุงเทพฯ มันก็ได้นะ เรื่องคนขึ้นรถไฟฟ้าอยู่สยามฯ มันมีเสน่ห์บางอย่างของมันอยู่ ตอนเด็ก ๆ เราคิดว่า การเขียนเรื่องในประเทศไทยมันน่าเบื่อ</p> <p><strong>.</strong></p> <p>คนที่ชอบ Y ในไทยและอายุ 30-40 เป็น Millenium Gen Y Gen X จะมีสองทาง คือ ชอบอ่านการ์ตูนหรือชอบดาราเกาหลี ลี้จะชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น ในวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นมันจะมีวัฒนธรรม Y ด้วย ในโลกของการ์ตูนญี่ปุ่นเราก็จะเจอแนว Y แนวต่อสู้ แล้วเราก็ชอบ แล้วเราก็เริ่มเขียน อย่างในเว็บบอร์ดที่ลี้บอกว่า เขาช่วยดูแลลี้ ช่วยเคี่ยวกรำลี้ ทุกคนก็เขียนแบบ มีทั้งชายชาย ชายหญิง ทำให้เรา get into วัฒนธรรมนั้น แล้วมันก็อยู่กับลี้มาเรื่อย ๆ และเราก็ได้พัฒนามาในช่วงเวลาระหว่างที่นิยาย Y มันค่อย ๆ เติบโตขึ้นในสังคม หนูก็อยู่มาตั้งแต่ยุคที่มันไม่ได้ขายในร้านหนังสือ ต้องขายแบบส่งไปรษณีย์เอง จนถึงยุคที่สำนักพิมพ์เข้ามาทำ และมันเกิดการวางขายในร้านหนังสือซึ่งเราก็อยู่ในลูปสำนักพิมพ์เหล่านั้น และเราก็อยู่ในลูปที่มันกลายมาเป็นซีรีส์ และก็เดินทางไปแปลในพื้นที่ต่าง ๆ ในเอเชียและก็อาจจะทั่วโลกในบางแพลตฟอร์ม คนอื่น ๆ เขาก็จะประมาณนี้เหมือนกันสำหรับลูปของ Y ก็สนุกดี เหมือนได้โตไปพร้อม ๆ กับวงการ</p> <p> </p> <p>ติดตามรับชมภาพและเสียงผ่านช่องทางออนไลน์ที่ </p> <p>YouTube (bacc channel) : https://www.youtube.com/watch?v=SdKNMMGQ6t8</p> <p>Spotify: https://open.spotify.com/show/3G3gYxUP7dCBsVHTJIYBCV</p> <p><br /></p> <p><br /></p>
November 7, 2024
<p> </p> <p><strong>BACC Library Podcast ชุด Join their Journeys</strong></p> <p><strong>ตอน The Journey of Nose คุณน้ำ กันต์นที นีระพล ลิ้มวิรัตน์</strong></p> <p><strong>ชวนคุยโดย: คุณเบิร์ด คิดแจ่ม</strong></p> <p><strong>ร่วมพูดคุยกับ: คุณน้ำ กันต์นที นีระพล ลิ้มวิรัตน์</strong></p> <p><strong> </strong></p> <p>ถ้าถามเรื่อง note ของกลิ่นกับชีวิตน้ำ เทียบกับประสบการณ์ของตัวน้ำเอง ถ้าตัว base note น้ำโตมากับร้านดอกไม้ของคุณแม่ โดยที่ไม่รู้ตัวน้ำอาจจะชอบกลิ่นตั้งแต่ตอนนั้นก็ได้ </p> <p>middle note เป็นเหมือนหัวใจหลักของน้ำหอมค่ะ น้ำคิดว่าอาจจะเป็นชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไปของน้ำเองที่เป็นคนธรรมดาทั่วไป อาชีพเป็นแอร์โฮสเตส ซึ่งถือเป็นหัวใจของชีวิตเหมือนกัน มันเป็นอาชีพที่สนุกมากนะ การออกไปบินทุก ๆ ครั้งแค่ได้รับคำขอบคุณจากใครสักคนหนึ่งถือว่าโอเคแล้ว สำหรับน้ำ middle note เป็นเรื่องที่คนไม่รู้ แต่มันเป็นหัวใจหลักของการใช้ชีวิตของน้ำเลย </p> <p>ส่วน top note เป็นตัว spark และเป็นตัว first impression ถ้าคนรู้จักน้ำก็จะรู้จักจากการทำกลิ่น การทำหนังสือ ก็ดีใจที่ได้ทำมันออกมา มันก็สร้างอาชีพให้เราได้ด้วย top note ก็เลยจะเป็นเรื่องกลิ่น</p> <p>ติดตามผลงานของ คุณน้ำ กันต์นที นีระพล ลิ้มวิรัตน์ ได้ทาง FB: Qraft by Aqua</p> <p> </p>
Pod Engine is not affiliated with, endorsed by, or officially connected with any of the podcasts displayed on this platform. We operate independently as a podcast discovery and analytics service.
All podcast artwork, thumbnails, and content displayed on this page are the property of their respective owners and are protected by applicable copyright laws. This includes, but is not limited to, podcast cover art, episode artwork, show descriptions, episode titles, transcripts, audio snippets, and any other content originating from the podcast creators or their licensors.
We display this content under fair use principles and/or implied license for the purpose of podcast discovery, information, and commentary. We make no claim of ownership over any podcast content, artwork, or related materials shown on this platform. All trademarks, service marks, and trade names are the property of their respective owners.
While we strive to ensure all content usage is properly authorized, if you are a rights holder and believe your content is being used inappropriately or without proper authorization, please contact us immediately at [email protected] for prompt review and appropriate action, which may include content removal or proper attribution.
By accessing and using this platform, you acknowledge and agree to respect all applicable copyright laws and intellectual property rights of content owners. Any unauthorized reproduction, distribution, or commercial use of the content displayed on this platform is strictly prohibited.